การใช้ภาษามือ

  •      การใช้ภาษามือคือสิ่งที่สามารถพบเจอได้ในคนหมู่มากที่มีปัญหาบกพ้องเรื่องการได้ยินเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงมีสิ่งที่เรียกว่าภภาษามือขึ้นมาเพื่อสื่อสารกับคนพวกนั้นเพื่อให้มีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น และภาษามือนั้นก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำยากเลยแต่กับเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายมากๆถ้าเราเข้าใจจริงๆ ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าจะสื่อสารกับคนพวกนี้อย่างไรถึงจะรู้เรื่อง อีกอย่างนะครับคนเราชอบคิดที่ว่าคนพวกนี้เป็นบุคคลที่บกพ้องและไม่อยากที่จะเข้าไกล แต่การที่คนเราทำอย่างนั้นเป็นสิ่งที่สื่อว่าพวกเขาเหล่านั้นคือบุคคลที่เกิดมาแล้วประหลาดจึงทำให้บุคคลเหล่านั้นเกิดความกังวลใจและถึงกับขั้นฆ่าตัวตายเลยก็มี ดังนั้นเราควรที่จะให้ความสนใจและใส่ใจกับคนพวกนี้ เพราะคนพวกนี้เค้าก็ไม่ได้อยากจะเกิดมาเป็นคนที่พิการแต่ทำไงได้ ได้ชื่อว่าเป็นคนแล้วเราต้องทำหน้าที่ของคนให้ดีที่สุด อย่าไปมองว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่นแต่ควรมองว่าเรานี้แหละที่มีความพิเศษกว่าคนอื่น เป็นกำลังใจให้ครับ สู้ๆ
Posted in Uncategorized | Leave a comment

คู่มือการใช้งาน wordpress

ให้นักเรียนดาว์นโหลดคู่มือการใช้งาน WordPress แล้ว save เก็บไว้เพื่อศึกษา wordpress เพิ่มเติมนะครับ
>> ดาว์นโหลดคู่มือการใช้งาน wordpress

Posted in Uncategorized | Leave a comment

การฝึกทักษะการฟังและการพูด

images
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าเด็กหูหนวกหูตึง เมื่อตรวจวัดการได้ยิน
และใส่เครื่องช่วยการได้ยิน อาทิ เครื่องช่วยฟัง หรือการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
และมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามเมื่อเด็กใส่เครื่องช่วยฟังหรือใส่ประสาทหูเทียมแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
ได้รับการฝึกฟังฝึกพูดจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาภาษาที่จะใช้การสื่อสาร ซึ่งการฝึกทักษะการฟังการพูดมี
ลำดับขัน้ และรายละเอียดดังนี ้
การฝึ กทักษะการฟัง : เมื่อเด็กใส่ประสาทหูเทียมหรือเครื่องช่วยฟัง 6 – 9 เดือน
ช่วงนีเ้ด็กจะมีพัฒนาการทางการฟังดีขึน้ มีการตอบสนองต่อเสียงมากขึน้ เมื่อมีเสียงเด็ก
จะหันหาว่าเสียงมาจากที่ใด หรือเมื่อได้ยินเสียงเรียกชื่อเด็กจะหันหา และชอบฟัง
เมื่อมีคนพูด นอกจากนีเ้ด็กจะมีความสามารถเข้าใจเสียง และแยกแยะระดับเสียงได้
เช่น แยกความแตกต่างของเสียงรถกับเสียงเครื่องบินที่มีความแตกต่างของระดับเสียง
ส่วนพัฒนาการทางการพูดนัน้ เด็กจะเริ่มเปล่งเสียงอ้อแอ้ และเริ่มเปล่งเสียงดังเพื่อ
เรียกร้องความสนใจ เข้าใจระดับเสียงสูงตํ่า สามารถควบคุมเสียงของตนเอง
จนกระทั่งเด็กเริ่มพูดคำแรก
ในการสอนทักษะการฟังและการพูดนัน้ ผู้สอนจะต้องตัง้ เป้ าหมายก่อนสอน เช่น การฟังเพื่อแยกความ
แตกต่างของเสียง โดยการฟังเสียงคำว่า ปา-ปา กับ พา-พา แต่สองคำนีจ้ ะยากกว่าคำว่า ปา-ปา กับ พี-พี หรือ
โพ-โพ เป็นต้น ซึ่งคำที่มีเสียงใกล้เคียงกันนัน้ เด็กจะแยกความแตกต่างได้ยาก อย่างไรก็ตาม วิธีการสอนพูด
โดยใช้การฟังนี ้หากนำมาใช้ในการสอนเด็กแล้วเด็กไม่พัฒนาเท่าที่ควร ผู้สอนอาจต้องใช้วิธีการสอนแบบอื่น
หรือวิธีสอนแบบที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป
การฝึ กทักษะการฟัง : เมื่อเด็กใส่ประสาทหูเทียมหรือเครื่องช่วยฟัง 9 – 12 เดือน
ในระยะนีเ้ด็กจะต้องมีความสามารถในการจำแนกเสียงและเริ่มจำเสียงแต่ละเสียงว่าเป็น
เสียงอะไร เริ่มรู้ว่าคำแต่ละคำมีความหมาย สามารถบอกตำแหน่งของเสียงในระยะไกล และสามารถแยกเสียง
ของผู้พูดในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวนได้
2
การฝึ กทักษะการฟัง : เมื่อเด็กใส่ประสาทหูเทียมหรือเครื่องช่วยฟัง 12 – 24 เดือน
ขัน้ นีเ้ด็กจะต้องมีความสามารถในการบอกและแยกแยะในระดับคำพูด รวมทัง้ สามารถพูด
เป็นคำหรือประโยคง่ายๆ ตามที่ได้ยินได้ การจำคำอาจจะเป็น 1 – 2 คำ และสามารถทำตามคำสั่ง 2
คำสั่งได้
จุดมุ่งหมายในการสอน
1. เด็กสามารถรับรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่อง
ประสาทหูเทียม (Cochlear Implant) หรือเครื่องช่วย
ฟัง (Hearing Aid) เช่น ใส่เครื่องช่วยฟังที่มีแบตเตอรี่
แล้วให้เด็กฟัง และเมื่อเอาแบตเตอรี่ออกแล้วให้เด็ก
ฟังอีกครั้ง ผู้สอนถามเด็กว่า เครื่องช่วยฟังทำงานอยู่หรือไม่
2. เพื่อให้เด็กสามารถแยกแยะเสียงทัง้ 6 เสียง (/อา/ /อู/ /อี/ /อึม/ /ช/ /ส/) โดยให้เด็กฟัง
ผู้สอนพูดและให้เด็กบอกว่าเป็นเสียงใด
3. เพื่อให้เด็กสามารถแยกแยะเสียงสัน้ เสียงยาว โดยเฉพาะเสียงในภาษาไทยมีทัง้ เสียงสัน้
และเสียงยาว ผู้สอนต้องฝึกให้เด็กสามารถแยกว่าเสียงใดเสียงยาว เสียงใดเป็นเสียงสัน้
เช่น อา กับ อะ หรือคำที่มีเสียงสัน้ กับเสียงยาว เช่น ป้ าน กับ ปั้น เป็นต้น
4. เพื่อให้เด็กสามารถแยกแยะประโยคที่มีความสัน้ ยาว แตกต่างกัน ทัง้ นีเ้ด็กบางคนอาจจะ
ต้องใช้เวลานานในการเรียนรู้ ซึ่งก่อนที่ผู้สอนจะฝึกเด็กในขัน้ นี ้จะต้องรู้ว่าเด็กมีภาษา
มากน้อยเพียงใด โดยการทดสอบเรื่องคำศัพท์ที่เด็กได้เรียนรู้มาแล้ว
5. เพื่อให้เด็กสามารถแยกแยะทำนองของเพลงหรือบทกลอน เช่น เพลงแมงมุมลาย เพลง
ช้าง เพลงเป็ด เป็นต้น
6. เพื่อให้เด็กสามารถฟังเสียงและบอกทิศทางของเสียงได้ เช่น ผู้สอนฝึกให้เด็กฟังเสียง
แมว ที่เป็นของเล่นแล้วนำแมวของเล่นนัน้ ไปซ่อนไว้ที่ใดที่หนึ่งในห้อง แล้วให้เด็กหาว่า
เสียงแมวมาจากที่ใด เป็นต้น ผู้สอนอาจจัดกิจกรรมในลักษณะต่างๆ และอาจจะใช้วิทยุ
เทปประกอบการจัดกิจกรรมด้วย
7. เพื่อให้เด็กสามารถบอกชื่อสิ่งต่างๆ ซึ่งป็นความสามารถในการพูด ซึ่งเด็กจะสามารถพูด
สื่อสารได้นัน้ เด็กจะต้องมีความรู้ในเรื่องของภาษาและคำศัพท์เป็นอย่างดี
3
เป้าหมายในการสอนการฟังและการพูด
การแยกแยะเสียงของตัวอักษรในประโยค เป็นการสอนให้เด็กฟังเสียงของตัวอักษรโดยไม่เน้น
เรื่องของภาษา เช่น ในภาษาอังกฤษ คำบางคำจะมีเสียงเอส (S) ที่ท้ายคำ ผู้สอนก็จะ Highlight ตัว
เอสและให้ฝึกออกเสียง ในขัน้ นีจ้ ะเน้นการพูดเป็นประโยค ซึ่งจะดีกว่าการพูดเป็นคำ เพราะการพูด
เป็นประโยคจะมีบริบท เด็กจะสามารถฟังและเข้าใจได้ดีกว่าการฟังและพูดเป็นคำ
การจำชื่อสิ่งของ 2 อย่างจากการฟัง
เป็นการฝึกให้เด็กจำสิ่งที่เห็นหรือได้ยินจากง่ายไปยากหรือจากน้อยไปมาก เช่น ผู้สอนนำ
สิ่งของมาให้เด็กดู 6 อย่าง ผู้สอนพูดชื่อสิ่งของ 2 อย่าง แล้วให้เด็กเลือกของ 2 อย่างที่ผู้สอนพูด เมื่อ
เด็กทำได้ เมื่อเด็กจำได้ ต้องสอนให้เด็กรู้จักชื่อของสิ่งของเพิ่มขึน้ และเพิ่มสิ่งของที่วางให้เด็กเลือก
เพิ่มขึน้
การจำชื่อสิ่งของ 3 อย่างจากการฟัง
เป็นการฝึกให้เด็กจำชื่อสิ่งของที่ผู้สอนพูด 3 ชื่อ แล้วเลือกสิ่งของที่วางไว้ให้ถูกต้อง (Close
Set)
การจำชื่อสิ่งของ 4 อย่างจากการฟัง
เป็นการฝึกให้เด็กจำชื่อสิ่งของเพิ่มมากขึน้ ผู้สอนอาจจะใช้รูปภาพในการสอน ซึ่งในการสอน
การฟังนี ้ถ้าเด็กผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมตัง้ แต่ยังเล็ก เด็กจะมีพัฒนาการการฟังและการพูดดีกว่า
4
การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
ในขัน้ นีผ้ ู้สอนฝึกให้เด็กเลือกภาพตามคำสั่งของผู้สอน เช่น ผู้สอนพูดว่า “กากบาท (X)
ภาพผู้ชายใส่หมวก” ถ้าครัง้ แรกเด็กกากบาทผิดหรือไม่ถูกต้องเมื่อเด็กกากบาทใหม่อีกครั้งแล้วทำได้
ถูกต้อง ผู้สอนให้คำชมเชย เช่น ภาพนีถู้กต้อง หนูทำได้ดีมาก หรือผู้สอนให้เด็กเลือกภาพโดยพูดว่า
“ภาพผู้ชายไม่ใส่หมวก” โดยผู้สอนเน้นคำว่า “ไม่ใส่หมวก” ถ้าเด็กทำท่าจะกากบาทผิด ให้ผู้สอนพูด
เป็นคำว่า “ไม่” เพื่อเป็นการสอนความหมายของคำด้วย การสอนในลักษณะนีไ้ ม่ใช่วิธีการทดสอบ
เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสอนไปด้วย ทัง้ นีก้ ารสอนดังกล่าวเป็นการฝึกหรือการบำบัดโดยใช้ทักษะ
3 ด้าน คือการฟัง การปฏิบัติ และการพูด
การฟังสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
เป็นการฝึกฟังให้เด็กคิดวิเคราะห์สิ่งที่มีความสัมพันธ์กันโดยเด็กไม่เห็นสิ่งนัน้ (Open Set)
เช่น ผู้สอนพูดเกี่ยวกับผลไม้ โดยไม่ได้พูดชื่อของผลไม้ที่จะสอน หรือไม่ได้นำผลไม้ที่จะสอนมาให้เด็กดู
แต่ผู้สอนจะพูดคำหรือข้อความที่สัมพันธ์กับผลไม้ที่จะสอน เช่น ผู้สอนจะสอนเรื่องสตรอเบอรี่ ผู้สอน
พูดว่า “มีสีเขียว” เด็กตอบว่า “องุ่น” ผู้สอนพูดว่า “ยังไม่ใช่” เด็กพูดต่อว่า “แอปเปิ ้ล” ผู้สอนพูดว่า
“ยังไม่ใช่” และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “มีสีแดงด้วย” และบอกคำตอบที่ต้องการกับแม่ของเด็ก ให้แม่ของ
เด็กพูดกับเด็กเพิ่มเติม โดยอาจพูดว่า “ใส่ในช็อคโกแลต” จนเด็กตอบว่า “สตรอเบอรี่” เป็นต้น
การฟังแล้วพูดตาม
เป็นการฝึกพูดโดยให้เด็กฟังแล้วพูดตาม ถ้าเด็กพูดผิดหรือพูดไม่ถูกต้อง ผู้สอนจะต้องให้
เด็กพูดใหม่ โดยฟังผู้สอนพูดก่อนแล้วเด็กจึงพูดตาม แต่ถ้าเด็กยังพูดผิด ผู้สอนจะให้เด็กพูดใหม่ไม่
เกิน 3 ครัง้ เพราะถ้าให้เด็กพูดมากว่านีเ้ด็กจะเบื่อหน่ายและไม่ต้องการฝึกพูด ดังนัน้ ถ้าเด็กพูดผิด
หรือไม่ชัดเจนผู้สอนควรให้กำลังใจ เช่น พูดว่า “เกือบใช่แล้วนะ เกือบถูกแล้วนะ” เป็นต้น
5
การพูดย้อนกลับหรือพูดทวนตัวเลขที่ได้ยิน
เป็นการพัฒนาความสามารถของเด็กในการฟังและจำตัวเลขที่ผู้สอนพูดจำนวน 2 – 5 จำนวน
แล้วพูดทวนตัวเลขที่ผู้สอนพูด เช่น ผู้สอนพูดว่า “5 – 3” ให้เด็กฟัง จำ แล้วพูดย้อนกลับหรือพูดทวน
โดยเด็กพูดว่า “5 – 3”
การฟังแล้วอ่านพร้อมกับชี้ที่ตัวหนังสือ
เป็นการฝึกให้เด็กฟังแล้วอ่านพร้อมกับชีที้่ตัวหนังสือและตอบ
คำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน ซึ่งเป็นการสอนการฟังและสอนคำศัพท์
พร้อมทัง้ ความหมายของคำศัพท์แต่ละคำที่เด็กอ่าน เช่น ผู้สอนให้เด็ก
ฟังจากเทปบันทึกเสียง แล้วอ่านตามพร้อมกับชีไ้ ปที่ตัวหนังสือหรือคำ เมื่อฟังเทปจนจบแล้วผู้สอนตัง้
คำถาม ถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน หรือคำที่อ่านว่าหมายความว่าอย่างไร ถ้าเด็กตอบไม่ได้ ผู้สอน
จะต้องอธิบายให้เด็กฟังเสร็จแล้วผู้สอนจะต้องถามคำถามเดิมอีกครัง้ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
การตอบคำถามจากการฟังการเล่าเรื่อง
เป็นการสอนเพื่อฝึกให้เด็กฟังเรื่องราวที่ผู้สอนเล่าให้ฟังแล้ว ตอบคำถาม โดยเนือ้ เรื่องที่นำมา
เล่าในระยะแรกควรเป็นเรื่องราวสัน้ ๆ ก่อน ประมาณ 2 – 3 ประโยค เมื่อผู้สอนเล่าเรื่องจบก็จะถาม
คำถามจากที่เล่าให้เด็กฟัง แล้วให้เด็กตอบคำถาม ถ้าเด็กตอบผิดหรือไม่ถูกต้อง ให้ผู้สอนถาม
คำถามเดิม อีกครั้งเพื่อให้เด็กพยายามหาคำตอบ หรือจะใช้เทคนิค Hi-lighting ก็ได้ ทัง้ นีห้ ากเด็ก
ใช้ไวยากรณ์ที่ไม่ถูกต้องผู้สอนจะต้องแก้ไขให้ถูกต้องด้วย
การฟังและการพูดโต้ตอบเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป
เป็นการฝึกให้เด็กฟังเนือ้ เรื่องที่ผู้สอนพูด แต่จะต้องพยายามให้เด็กใช้การฟังโดยไม่ให้มองที่
ปากผู้พูด การสอนผู้สอนอาจจะเริ่มจากการถามเด็กเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ครอบครัว เพื่อฝึกการฟัง
และการพูดเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวให้กับเด็ก โดยฝึกจนกระทั่งเด็กสามารถฟังและพูดโต้ตอบได้อย่างดี
6
พัฒนาการทางการพูดและภาษา
ขัน้ ตอนของการพัฒนาทางการพูดและภาษาเริ่มจากการใช้คำที่เป็นภาษาพูดที่มีความหมาย
เด็กจะเริ่มฟังคำใหม่ๆ และเป็นคำที่มี 3 – 4 พยางค์ ถึงแม้ว่าในขัน้ นีเ้ด็กจะยังไม่ค่อยรู้ความหมายของ
คำก็ตาม ซึ่งผู้สอนอาจจะเล่นกับเด็กโดยใช้เกมภาษาที่จะฝึกให้เด็กฟังและเริ่มพูดเป็นคำสัน้ ๆ ง่ายๆ
เช่น จ๊ะเอ๋ เป็นต้น
ทักษะทางการพูดและภาษา
การพัฒนาภาษาและการพูดของเด็กผู้สอนจะต้องสอนจนกระทั่งเด็กมีความสามารถในการ
ฟังและเข้าใจคำพูดได้ทันที ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนนัน้ ผู้สอนจะต้องใช้การพูดในการสื่อสาร
ไม่ใช้ท่าทาง โดยการสอนอาจจะเริ่มจากการใช้ชื่อตัวเอง เมื่อพูดถึงตนเองหรือการเรียนรู้การใช้คำ
ใหม่ๆ 2 – 3 คำ แล้วนำไปใช้อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนีก้ ารสอนในขัน้ ตอนนีเ้ด็กจะต้องสามารถ
บอกความแตกต่างของคำสองคำได้ แยกแยะเสียงของพยัญชนะ สระ ได้
รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี ศักดิ์ศิริผล เขียนและเรียบเรียง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพันธ์ ศรีวันยงค์ แปลการบรรยาย
นางสาวสุกัญญา พิมพ์วันนา ถอดเทปการบรรยาย
……………………………………………………………………………………………………………………………………………
ที่มา :http://rise.swu.ac.th/Portals/184/documents/articles/Developing_Listening_and_Spoken_Language_Skills-02.pdf

Posted in Uncategorized | Leave a comment

เทคนิคเรียนวิชาการให้สนุก

imagesCAOQ2SFR

เทคนิคเรียนวิชาการให้สนุก เพิ่มพลังสมองวัยซน
การเรียนวิชาการด้วยความสนุก ช่วยเพิ่มศักยภาพสมองอย่างไร
ช่วงแรกเกิดถึง 10 ปีถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ จะเห็นได้ว่าเด็กๆ เรียนรู้

ภาษาต่างประเทศ ดนตรีได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่าเด็กปกติเมื่อคลอดมานั้น

เกิดมาพร้อมกับจำนวนเซลล์สมองที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตเรียนรู้สิ่งต่างๆ หากว่าเด็กได้ฝึกการคิด การ
ปฏิบัติ และใช้สมองในการแก้ปญั หา สมองก็จะมีการสร้างใยประสาทเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่เราจะใช้สมองน้อย
กว่าประสิทธิภาพสมองที่มีอยู่

จะทำอย่างไรให้เด็กสามารถเพิ่มศักยภาพการใช้สมองได้อย่างเต็มที่ ก่อนอื่น

จะต้องรู้ว่าสมองจะเรียนรู้ได้ อารมณ์จะต้องมีลักษณะเป็นบวก ขณะที่เด็กๆ ได้เรียนรู้
ผ่านการเล่น ความรู้สึกสนุกและรู้สึกผ่อนคลาย เป็นสิ่งสำคัญที่เด็กจะสามารถพัฒนา

ศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มที่
หลักสำคัญที่เรียนวิชาการด้วยความสนุก คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้กลยุทธ์หลากหลายที่จะทำเด็ก
มุ่งสนใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่ สร้างความท้าทาย ความสนุกสนาน และให้เด็กได้เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับชีวิต
จริงเสมอ เพื่อให้รู้ว่าความรู้นั้นมีประโยชน์กับเขา โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

หรือร่วมเล่นด้วย แต่หากลูกตอบผิดหรือทำในสิ่งที่ผู้ใหญ่มองว่าไม่เข้าท่า อย่าใจร้อนตำหนิเขานะคะ เพราะจะ

ทำให้บรรยากาศแบบผ่อนคลายหายไป
ตัวอย่างเทคนิคการเรียนวิชาการให้สนุก
– คณิตศาสตร์
วัยอนุบาล เทคนิคเรียนให้สนุก เรียนเรื่องจำนวนโดยใช้ขนมลูกชุบ โดยให้เด็กหยิบตามจำนวน
ต่างๆ ฝึกการรวมสิ่งของ (การบวก ) การหักลบ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ได้ดีเพราะเห็นเป็นรูปธรรม และรู้สึกสนุก
เผลอๆ ลูกชุบจะหายไปเพราะถูกหักลบไปอยู่ในท้องของผู้เรียนก็ได้
วัยประถมศึกษาต้น เทคนิคเรียนให้สนุก เรียนเรื่องเรขาคณิต โดยตัด
กระดาษสีเป็นรูปเรขาคณิตต่างๆ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เข้านำมาปะติดเป็นภาพ
วัยประถมศึกษาปลาย เทคนิคเรียนให้สนุก เรียนเรื่องเศษส่วนด้วยพิซซ่า เด็กๆ จะสนุกกับการ
แบ่งพิซซ่าออกเป็นส่วนๆ จาก ½ เป็น ¼ และง่ายมากที่เด็กจะเปรียบเทียบว่าระหว่าง ¾ กับ ½ แบบใดได้
ชิ้นใหญ่กว่ากัน
สนุกแบบนี้เพิ่มพลังสมองอย่างไร การจัดกิจกรรมผ่านประสบการณ์เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ให้เด็ก
ได้ลงมือปฏิบัติ คิดและสรุปเป็นองค์ความรู้ของตน เหล่านี้เป็นการเชื่อมโยงสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้ทำงาน
ประสานกัน และทำให้ศักยภาพในการเรียนเพิ่มขึ้นค่ะ
– ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
วัยอนุบาล เทคนิคเรียนให้สนุก เรียนพยัญชนะด้วยการใช้นิ้วจุ่มสีน้ำแล้วลากเป็นพยัญชนะ หรือ
โดยการผลัดกันเขียนพยัญชนะที่หลัง บนฝ่ามือ
วัยประถมศึกษาต้น เทคนิคเรียนให้สนุก เรียนมาตราตัวสะกดโดยใช้เชือกแปลงร่าง เช่น แม่ กบ
ให้เด็กนำเชือกมาขดเป็น บ พร้อมกับบอกคำตัวอย่าง แล้วเปลี่ยนเป็น ป… พ …ภ …ฟ
วัยประถมศึกษาปลาย เทคนิคเรียนให้สนุก เรียนสำนวน คำพังเพย โดยเล่นเกมผลัดกันเปิดบัตร
สำนวน คำพังเพย แล้วเล่าเรื่องหรือแต่งนิทานที่สอดคล้องกับความหมายของสำนวน คำพังเพยนั้นๆ
สนุกแบบนี้เพิ่มพลังสมองอย่างไร
เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยใช้ประสาทสัมผัสหลายด้านร่วมกัน นอกจากจะทำให้เด็กสนุกและเกิดความ
เข้าใจที่ไม่ใช่ความทรงจำที่มาจากการท่องจำแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อสมองหลายๆ ส่วนให้ตื่นตัว
เซลล์สมองมีการสื่อสารกันมากขึ้น และเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อีกด้วย
– ศิลปะ
วัยอนุบาล เทคนิคเรียนให้สนุก ชักชวนให้ทำกิจกรรมหลากหลายค่ะ ไม่
จำเป็นต้องวาดรูปอย่างเดียว เช่น พิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือ ปนั้ ดินน้ำมัน การพับ ฉีก การ
ฝนสีบนวัสดุหลายพื้นผิว เช่น กระดาษทราย กระดาษลูกฟูก
วัยประถมศึกษาต้น เทคนิคเรียนให้สนุก เรียนเรื่องการผสมสี เช่น สีเขียวต้องใช้สีอะไรผสมกัน
และให้เด็กๆ สนุกกับการนิยามชื่อสีที่ผสมได้ในเฉดต่างๆ เช่น สีเขียวใบตอง สีเขียวหญ้าอ่อน สีเขียวนาฬิกา
Benten เป็นต้น
วัยประถมศึกษาปลาย เทคนิคเรียนให้สนุก ให้เด็กฝึกถ่ายทอดความคิดหรือเรื่องราวเกี่ยวกับ
เหตุการณ์ต่างๆ เป็นภาพวาด
สนุกแบบนี้เพิ่มพลังสมองอย่างไร เป็นการฝึกใช้สมองส่วนจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ใน
ขณะเดียวกันยังเป็นการฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กจากการปั้น พับ ประดิษฐ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาสมองได้เป็น
อย่างดี
– วิทยาศาสตร์
วัยอนุบาล เทคนิคเรียนให้สนุก การทดลองการจมการลอยของวัตถุ เด็กๆ จะสนุกกับการหย่อน
ของลงในน้ำ แล้วดูว่าจะจมหรือลอย ทัง้ นี้คุณพ่อคุณแม่ควรตัง้ คำถามกระตุ้นให้เด็กสังเกต และคิดด้วยนะคะ
เช่น เพราะอะไรน้า…ก้อนหินจึงจมน้ำ แต่ตุ๊กตาเป็ดลอยน้ำได้คะ
วัยประถมศึกษาต้น เทคนิคเรียนให้สนุก เรียนเรื่องการละลายจากการทำน้ำเชื่อม คุณแม่ลองชวน
น้องมาเข้าครัวทำน้ำผลไม้ แล้วทดลองดูว่าจะมีวิธีอย่างไรน้ำตาลจะละลายในน้ำได้ดีขึ้น
วัยประถมศึกษาปลาย เทคนิคเรียนให้สนุก เรียนเรื่องพลังงานกลที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของ
วัตถุ โดยการประดิษฐ์พาหนะจากเศษวัสดุ เช่น กล่องนม และใช้แรงยืดของยางหรือสปริงทำให้เครื่องที่ได้
สนุกแบบนี้เพิ่มพลังสมองอย่างไร ความสงสัย อยากรู้อยากเห็นเป็นสิ่งที่มีมาตามธรรมชาติ และ
ติดตัวมาตัง้ แต่เกิด ซึ่งของเราสมองก็ถูกออกแบบมาเพื่อรับรู้และขบคิดเพื่อค้นหาคำตอบ ดังนั้นการกระตุ้นให้
เด็กเกิดคำถาม จินตนาการ สำรวจ ทดลอง ผ่านทางการเล่น ทำให้เด็กสามารถสร้างความหมายและความรู้
ขึ้นมาได้ ยิ่งถ้าเด็กมีการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้และการคิดมากเท่าไร ก็จะทำให้เซลล์สมองสร้างเครือข่าย
เส้นใยสมองใหม่ๆ แตกแขนงเชื่อมติดต่อกันมากยิ่งขึ้น

                                                                                                 โดย อาจารย์ ดร.สุธาวัลย์ หาญขจรสุข

ที่มา http://rise.swu.ac.th/Portals/184/documents/articles/Learning_Technique.pdf

Posted in Uncategorized | Leave a comment

Hello!l..l

 สวัสดีชาวโลกเรามาอย่างสันติ…

Posted in Uncategorized | Leave a comment

Hello world!

Welcome to WordPress.com! This is your very first post. Click the Edit link to modify or delete it, or start a new post. If you like, use this post to tell readers why you started this blog and what you plan to do with it.

Happy blogging!

Posted in Uncategorized | 1 Comment